Creditbank Credit card bank Visa

.

2552/11/18

เรื่องเบาๆ อัตราดอกเบี้ยทางการของประเทศต่าง ๆในช่วงปลายฤดูร้อน

เรื่องเบาๆ ในช่วงปลายฤดูร้อน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เดือนพฤษภาคมของเรานี้เป็นเดือนที่มีวันหยุดมากเป็นพิเศษ ผมคงจะไม่พูดถึงเรื่องวันหยุดอีก เพราะว่าได้พูดไปแล้ว
แต่ที่มาชวนคุยในเดือนนี้ จะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของพวกเราในตลาดการเงิน อีกทั้งจะเป็นเดือนที่ไม่มีการประชุม FOMC (ครั้งต่อไปจะเป็นวันที่ 24 มิถุนายน) เรื่องที่จะคุยก็คงจะไม่พ้นเรื่องอัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยนและที่สำคัญ ผมมองอย่างไร

ทุกคนทราบดีว่า อัตราดอกเบี้ยทางการของประเทศต่าง ๆ ได้ลดต่ำลงมาเป็นอย่างมาก ถึงมากที่สุด จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น คงไม่มีใครเชื่อมาก่อนว่า Fed จะยอมลดดอกเบี้ยตัวเองลงมาถึงศูนย์ ยังไม่ต้องนับถึงการดำเนินนโยบายอื่น ๆ ของหน่วยงานทางเศรษฐกิจ เช่นกระทรวงการคลัง ที่ทำผ่านการ ‘nationalize’ ธนาคารต่าง ๆ มากมาย ไม่จำเพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่รวมถึงธนาคารกลางเกือบทั้งหมดในยุโรป ดูเหมือนว่าจะมีทางเอเชียที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่โชคดี

ในบรรดาประเทศในเอเชีย ก็อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มที่ระบบเศรษฐกิจเปิดมาก เช่น สิงคโปร์, ไทย, เกาหลี, ญี่ปุ่น เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่ผมอยากเรียกว่า “เปิดน้อยกว่า” เช่น อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ในกลุ่มแรก แน่นอนว่าได้รับผลกระทบมากกว่า มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและอเมริกา ส่งผลให้ยอดส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้นลดลง ส่งผลให้การจ้างงาน การนำเข้าวัตถุดิบ และสุดท้าย การผลิตสินค้าต่าง ๆ มีมูลค่าลดลง

บางคนอาจจะมองภาพไปแล้วรู้สึกเศร้าและหดหู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดใจ สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำให้เรารู้สึกดีอยู่บ้าง ก็คือสถานะของสถาบันการเงินของเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ยังคงแข็งแกร่งอยู่ เอเชียโดยเฉพาะไทยได้รับผลกระทบทางด้านวิกฤติการเงินต่อระบบธนาคารพาณิชย์อยู่น้อยมาก ส่งผลให้กลไกทางด้านการเงินยังสามารถดำเนินต่อไปไม่สะดุด และไม่ (เพิ่ม) ภาระให้กับภาครัฐในการเข้าอุ้ม ถึงแม้จะมีการชะลอตัวลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและสถานะของลูกค้าไปบ้างก็ตาม

แน่นอนว่า ธนาคารพาณิชย์ย่อมไม่สามารถหนีไปจากวงจรเศรษฐกิจที่ชะลอตัวไปได้ “บุญเก่า” ที่สะสมไว้ย่อมหมดไป หาก “บุญใหม่” ไม่เข้ามาเติม สิ่งที่ต้องเห็นให้ได้โดยเร็วก็คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว หรืออย่างน้อยมีสัญญาณที่จะฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจการเงินดำเนินต่อไปได้ในระดับที่ดีขึ้น ไม่หยุดนิ่งเหมือนกับปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ตัวเลข NPL ของธนาคารอาจจะแย่ลงไปจากนี้ หากลูกหนี้ดี ๆ ทยอยเป็นลูกหนี้ไม่ดี สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี หากถึงตอนนั้น ข้อที่เป็นเรื่องแข็งแรงของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยก็คงจะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราไม่พึงปรารถนาจะให้เกิดขึ้น

อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมามากแล้ว อาจจะลดลงได้อีกเล็กน้อย ผมเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยทางการคงลงได้อีกสัก 0.25% ไปอยู่ที่ 1.0% การลดลงไปมากกว่านั้น คงจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกไม่มากนัก ทางการไทยคงจะหามาตรการอื่น ๆ เข้ามาช่วยแทน/เพิ่มเติม หลายคนอาจจะบ่นเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังลงมาได้อย่างไม่ถึงใจ ความจริงก็คือ คงจะลงมาให้ได้อย่างที่ต้องการคงจะยากไม่น้อย หากจะอธิบายตอนนี้เดี๋ยวจะกลายเป็นบทความแก้ตัวแทนเพื่อนร่วมอาชีพไป

อัตราแลกเปลี่ยน ผมก็ยังคงมีมุมมองที่ไม่ต่างจากเดิมไปเท่าไรนัก คือยังคงเห็นบาทอ่อนตัวต่อไป ในช่วงที่ผ่านมาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งส่อออกไปในทางที่รุนแรง ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบต่อค่าของเงินบาทไม่มากนัก ทำให้ผมรู้สึกว่า เงินบาทของเรามี “ภูมิคุ้มกัน” ต่อเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าสมัยก่อนอยู่มาก อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยทางด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ย่อมจะเป็นแรงกดดันให้เงินบาทมีค่าอ่อนตัวลง เป้าหมายของผมยังคงไว้ในระดับ 40 บาท หรือใกล้เคียง ภายในระยะเวลา 1 ปี

หากสังเกตจะเห็นว่าผมไม่พูดถึงปัจจัยทางด้านการเมืองเลย ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผล 2 อย่าง คือ หนึ่งผมไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องนี้เพียงพอที่จะวิเคราะห์ให้เป็นมรรคผลได้ และสอง ผลกระทบจากทางด้านตลาดเงินที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์การเมือง เป็นเรื่องที่เขาเหล่านั้นไม่เข้าใจ ดังนั้นก็เป็นการป่วยการที่จะไปวิเคราะห์ เพราะจะไปเป็นเรื่องโบราณที่ท่านว่า เราไม่มีทางเล่นเครื่องดนตรีบางประเภทให้เขาฟังเพราะมันไม่มีทางเข้าใจลึกซึ้งหรอก

ไม่มีความคิดเห็น: